NEAR พุ่งแล้ว นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับนักเทรดหุ้น


เปิดปี 2022 มาด้วยความร้อนแรงของราคา NEAR ที่ถ้าเทียบกับเงินไทยแล้ว 1 NEAR จะมีราคาพุ่งทะลุเกิน 20$ เข้าไปแล้ว เทียบกับเงินไทย 663.45 บาท ซึ่งก็ถือเป็นราคา NEAR ที่สูงที่สุดตั้งแต่โลกเริ่มซื้อขาย NEAR กันด้วยมา


ในปี 2021 ที่ผ่านมา มูลค่าของ NEAR เติบโตขึ้นเกือบ 400% จากช่วงต้นปี 2021 มีราคาราว 5$  เทียบกับเงินไทย 165.96บาท ต่อ 1 NEAR ในราคาปัจจุบัน จนจบปีมีมูลค่าราว 331 บาท และมาทะลุ 20$ กันในต้นปี 2022 นี้ ซึ่งสาเหตุที่ NEAR ขึ้นจากการคาดการณ์น่าจะขึ้นตามเจ้าใหญ่ซึ่งนั้นก็คือ BTC หรือ บิตคอยน์ มีราคาพุ่งสูงขึ้นขนาดนี้ เพราะมีนักลงทุนสนใจลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนสถาบัน ที่มีการลงทุนเกือบ 2 แสนล้านบาทกับบิตคอยน์ในปี 2021 ที่ผ่านมา ทำให้ตลาดของชื่อเรียกของคำติดปาก ว่า BTC หรือ Bitcoin ส่งผลทำให้ NEAR ขึ้นตามเหรียญ bitcoin จากราคา 300,000บาท ต่อ 1 BTC หรือ 9,040USD ในราคาปัจจุบันไทย
ตอนนี้มูลค่าตลาดของ Bitcoin สูงกว่า 18 ล้านล้านบาทแล้ว

อย่างไรก็ตาม กราฟที่พุ่งสูงขึ้นขนาดนี้ ก็มีแนวโน้มที่จะมีการปรับฐานได้เร็วๆ นี้เช่นกัน เหมือนการลงทุนด้านการเงินส่วนใหญ่ของโลก

ประวัติผู้ก่อตั้ง Near Protocol


Near Protocol ก่อตั้งขึ้นโดยนักพัฒนาซอฟแวร์ของ Microsoft ชื่อว่า Alexander Skidanov และนักพัฒนาอีกคนที่ชื่อว่า Ilya Polosukhin โดยโปรเจกต์ Near ได้เริ่มขึ้นช่วงเดือนกรกฎาคมปลายปี 2018 และเติบโตมาเรื่อย ๆ จนมีทีมงานกว่า 50 คน ภายในทีมมีนักพัฒนาที่เคยทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ทั้ง Google Facebook และอีกมากมาย

Near Coin คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เหรียญ NEAR เป็นเหรียญนำมาใช้จ่ายเป็นค่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย นอกจากนี้ยังเอาไว้จ่ายให้เป็น Rewards หรือค่าตอบแทนสำหรับการ Stake และเป็นค่าตอบแทนให้กับ Validator และ Developer ที่สร้าง Smart Contract บน Chain นอกจากนี้ผู้ที่ถือเหรียญ Near ยังมีสิทธิ์โหวตทิศทางต่าง ๆ ของ Near Protocol อีกด้วย

Near Protocol คืออะไร ?
Near หรือ Near Protocol คือ แพลตฟอร์ม Blockchain Technology แบบ Open Source Code ที่ใช้ระบบ Proof Of Stake ซึ่งเปิดให้นักพัฒนาเข้ามาสร้าง Decentralized Application (DApp) ได้ง่าย ๆ แถมประหยัดต้นทุนค่า Gas และรวดเร็วกว่า Ethereum ทำให้ Near เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ถูกเรียกว่า Ethereum Killer ที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะมองข้ามไป

นอกจากนั้น Near ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนแพลตฟอร์ม Cloud ที่ใช้สำหรับเก็บ Data ของผู้ใช้งาน ซึ่งโดยปกติ Cloud จะเก็บ Data ของผู้ใช้โดยมีตัวกลางเป็นบุคคล หรือองค์กร ทำให้ตัวกลางเหล่านั้นมีอำนาจมากพอที่จะจัดการกับ Data ได้อย่างอิสระ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีความปลอดภัยต่ำ และต้องใช้ความเชื่อใจสูง แต่นั่นไม่ใช่กับ Near Protocol เพราะ Near ใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบ Decentralized

Near Protocol ไม่ได้เป็น Sidechain ของ Ethereum แต่เป็น Blockchain Layer 1 เลย โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้าง Internet รูปแบบใหม่ ที่สามารถปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งานจากบริษัท หรือรัฐบาลได้ นอกจากนั้นสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการเข้ามาสร้าง Decentralized Application (DApp) บน Near Ecosystem ก็สามารถทำได้ง่าย โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และการปรับขนาด เพราะ Near เขาใช้วิธีการ Sharding เพื่อเพิ่มความสามารถในการ Scaling ให้ทำได้ดีมากยิ่งขึ้น

ถ้าหากว่าเพื่อน ๆ เป็นนักพัฒนา หรือเคยใช้พวก Cloud Service ก็คงจะรู้จักกับแพลตฟอร์มอย่าง Amazon Web Services (AWS) ที่เป็นแพลตฟอร์ม Cloud ที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก ซึ่ง Near เองก็มีรูปแบบการพัฒนา และ Use Case ที่คล้ายกับ AWS เพียงแต่ Cloud Service ของ Near จะไม่ได้ถูกดำเนินการโดยบริษัท แต่จะดำเนินการโดย Node ทุกคนของ Near แบบ Decentralized
Similar Game